วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

      การเผยแพร่สารสนเทศผ่านเครือข่ายอิสเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ


รูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมี2รูปแบบคือ


1.กระดานข้อความ (massege board)
แหล่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้ต้องการเผยแพร่ข้อมูลจะพิมพ์ข้อความไปฝากไว้ในกระดานข้อความ

2.การจัดทำเว็บเพ็จ (web page) ฝากไว้ในเว็บไซต์(web site) วิธีนี้ผู้ที่ทราบ URL ของเว็บเพ็จนั้นจะสามารถเข้าอ่านเอกสารที่เผยแพร่ได้โดยตรง หรือหากไม่ทราบ URL แต่สามารถระบุคำสำคัญที่มีอยู่ในเว็บเพ็จนั้น ก็อาจค้นหาผ่านโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลได้ จึงเป็นวิธีที่สามารถคาดหวังผลได้มากที่สุด

ข้อควรระวังในการสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ข้อควรระวังในการสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลมากมาย หากรู้จักเลือกใช้จะได้ประโยชน์มาก เช่น ใช้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แต่ข้อควรระวังคือ

1.ข้อมูลบางอย่างที่ได้จากอินเทอร์เน็ตอาจเป็นข้อมูลที่เชื่อถือไม่ได้

2.ผู้จัดทำข้อมูลอาจไม่มีความรู้จริง

           ดังนั้นก่อนที่จะนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์  ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าข้อมูลนั้นเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่  ผู้จัดทำเป็นใครและมีคุณวุฒิอย่างไร

แหล่งข้อมูลที่ถือว่าน่าเชื่อถือ  ได้แก่

1.แหล่งข้อมูลของทางราชการหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูง เช่น มหาวิทยาลัย

2.ข้อมูลของบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านใดก็น่าเชื่อถือสำหรับข้อมูลด้านนั้น

          ท้ายที่สุดผู้ใช้ข้อมูลจะต้องใช้ดุลพินิจของตนเองในการตัดสินใจเลือกใช้ข้อมูล

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
            การใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกได้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในส่วนที่เป็นผลดีและที่เป็นผลเสียมากมาย  ปัญหาที่สำคัญคืออินเทอร์เน็ตกลายเป็นสังคมอีกสังคมหนึ่งของโลก  ซึ่งคนจำนวนมากสามารถใช้ติดต่อกัน แต่สังคมปัจจุบันแตกต่างจากสังคมในอดีต  คือเป็นสังคมที่เสรีและในระดับโลกไม่มีกฎหมายของสังคมมาใช่บังคับ  ทุกคนที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องจึงต้องระมัดระวังตัวเองให้มากและต้องรู้เท่าทัน  หากทุกคนคำนึงถึงหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติต่อกันแล้ว ปัญหาก็จะลดลงไปได้มาก
                ผลกระทบของการอินเทอร์เน็ต   แต่เดิมนั้นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีใช้ในเฉพาะในไม่กี่ประเทศ  เช่น สหรัฐอเมริกา  บางประเทศในยุโรปและออสเตรเลีย มีใช้เฉพาะในหน่วยงานภาครัฐบาล  ดังนี้คือ
๑.๑ ใช้ในกลุ่มงานวิจัยในมหาวิทยาลัย ในทศวรรษ ๑๙๙๐
๑.๒ ใช้ในวงการธุรกิจทำให้เกิดธุรกิจใหม่ที่ให้บริการเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ส่วนใหญ่เกิดวิกฤติการณ์ดอทคอม  ทำให้ธุรกิจนี้ล้มละลาย  ส่วนน้อยที่ผ่านวิกฤตินี้ประสบผลสำเร็จจนทำให้ขยายตัวธุรกิจนี้ขึ้นมาอีกครั้ง
                ๑.๓ ใช้ในทางการศึกษา  เพื่อค้นหาความรู้ทั้งในระบบและนอกระบบอย่างกว้างขวาง
                ๑.๔  ใช้ในการบันเทิง
                จากปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบมากมาย ดังนี้คือ
                ด้านบวก  อินเทอร์เน็ตเป็นผลดีต่อการศึกษา  จากการค้นหาข้อมูลจากเว็บเพ็จจำนวนมากมาย ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาในห้องสมุดนาน  มีข้อมูลสามารถเรียกดูได้ในเวลารวดเร็วและมีความบันเทิงมากมายที่ไม่ต้องออกหาตามแหล่งบันเทิงนอกบ้าน สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ห่างไกล
                ด้านลบ  ข้อมูลจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตเชื่อถือไม่ได้  บางส่วนเป็นภัยต่อเด็กและเยาวชนซึ่งมีวุฒิภาวะไม่เพียงพอที่จะแยกแยะอาจถูกล่อลวงและถูกหลอกได้  เช่นเว็บไซต์สื่อลามกอนาจารหรือความรุนแรง  บ่อนการพนันการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
                ๒. มารยาท ระเบียบและข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต  เนื่องจากมีผู้ใช้บริการมากมาย  ผู้ใช้จึงควรปฏิบัติตามมารยาทและข้อบังคับในการใช้อย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้
                ๒.๑ ต้องให้เกียรติผู้อื่นที่ติดต่อในระบบเครือข่ายแม้จะไม่รู้จักกัน
                ๒ ใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่ใส่ร้ายหรือกลั่นแกล้งบุคคลใดเป็นการส่วนตัว
            ๒.๓ ไม่ควรใช้ภาษาอังกฤษเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ในห้องสนทนา เป็นการใช้ภาษาไม่สุภาพ
            ๒.๔ อย่าหลงเชื่ออีเมล์ที่ปล่อยข่าวลือ ขายสินค้าที่ต้องโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
          ๒.๕ ไม่ควรส่งอีเมล์ที่เป็นไวรัสแนบไป เพราะเป็นปัญหาให้ผู้อื่น
            ๒.๖ ห้ามเปิดข้อมูลจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจ
            ๒.๗ ถ้าได้รับอีเมล์ที่ส่งต่อมาเป็นลูกโซ่ไม่ควรส่งต่อ มีความเสี่ยงอาจตกเป็นผู้ต้องหาผู้เผยแพร่ข่าวสารที่ผิดกฎหมาย
            ๓. ความรับผิดตามกฎหมายในการเผยแพร่สารสนเทศ  ประเทศไทยเรามีกฎหมายควบคุม คือพระราชบัญญัติว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ผู้เผยแพร่ข่าวสารลักษณะต้องห้ามต้องได้รับโทษทางอาญา (ทั้งจำทั้งปรับ) และอาจต้องยังต้องรับผิดทางแพ่ง คือต้องชดใช้ค่าเสียหาย  กฎหมายถือว่าผู้ส่งต่อข้อมูลข่าวสารมีความผิดเช่นเดียวกับผู้เริ่มต้นเผยแพร่

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำตัวเอง

ด.ญ.กุลธิดา ล่องเพ็ง ม.2/1 เลขที่9
โรงเรียนตากพิทยาคม
ส่ง คุณครูพุธชาติ มั่นเมือง